by wimolwal
ตอนที่ 1
จากจุดเริ่มต้นที่ โลกนี้มีแต่ต้นไม้ สัตว์น้อยใหญ่อาศัยอยู่ในป่า มนุษย์นุ่งห่มใบไม้ แต่ด้วยความชาญฉลาดของมนุษย์ โลกที่มีแต่ต้นไม้กลายสภาพเป็นป่าคอนกรีต มนุษย์มีเสื้อผ้าอาภรณ์ห่อหุ้มร่างกายที่งดงาม สีสันจัดจ้าน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มาพร้อมกับมลพิษและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
มนุษย์บางกลุ่มเริ่มตระหนักและฉุกคิด และพยามที่จะหันมาใช้สิ่งของที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติ อย่างเช่นเสื้อผ้าที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ
Eco printing เป็นกระบวนการพิมพ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โนที่นี้ใช้วิธีการพิมพ์ผ้าด้วยใบไม้ ถ่ายโอยสีและโครงสร้างจากใบไม้สู่ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม ซึ่งเริ่มมีชิ้นงานอวดโฉมให้เห็นบนโลกออนไลน์ในต่างประเทศ
ในส่วนของประเทศไทยEco printing ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ไม่เหมือนผ้ามัดน้อมที่รู้ตักกันอย่างแพร่หลาย เท่าที่เห็นมีผู้ผลิตชิ้นงานทีเป็นEco printing อยู่เพียง 3-4 รายเท่านั้น(หรืออาจมีมากกว่านี้แต่ผู้เขียนยังไม่ทราบ)
ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่สนใจEco Printing จากจุดเริ่มต้นการมัดย้อมด้วยสีวิทยาศาสตร์ มาเป็นการมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ ซึ่งพบว่านอกจากมันจะดีต่อสิ่งแวดล้อมาแล้ว สีสันที่ได้ยังเปร เปลี่ยนไปตามการใช้ตัวที่ช่วยทำให้สีตืด.มากขึ้น ที่เรียกกันส่าตัว ฟิกสี (Mordant)รวมถึงสภาพอากาศด้วย
จากการมัดย้อม เริ่มมองหาสิ่งทีแปลกใหม่ แล้วก็พบว่า Eco printing เป็นเรื่องที่ท้าทาย สร้างความแปลกใหม่ได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ทั้งเรื่องสีสันและลวดลาย ยิ่งเห็นชิ้นงานที่โพสต์ขายกันอยู่ในต่างประเทศแล้ว ยิ่งชวนให้หลงใหลมากขึ้น
ผู้เขียนใข้เวลาศึกษาค้นคว้ากระบวนการถ่ายโอนสีจากใบไม้ลงสู่ในอินเตอร์เน็ตมากว่า 1 ปีพบ ข้อมูลในการให้ความรู้เรื่องนี้ในเมืองไทยมีน้อยมาก(ช่วงแรกที่หาข้อมูลแทบไม่มีเลยก็ว่าได้)ส่วนใหญ่เป็นการแชร์ประสบการณ์ในการทดลองทำของผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ ซึ่งถึงแม้จะมีแนวทางที่คล้ายกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับแตดต่างกัน บางรายก็มีแนวทางทีต่างกันไป
ผลลัพธ์ของความต่างที่ได้เกิดจากความต่างของแหล่งกำเนิดของต้นไม้ชนิดนี้น เช่นมะม่วงเขียวเสวยที่ปลูกในจังหวัดสมุทรสาคร รสชาติจะหวานมัน อร่อยมาก(เคยเอาไปฝากผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอกว่าไม่เคยทานเขียวเสวยอย่อยแบบนี้ที่ไหนมาก่อน) ชนิดของตัว mordant ปริมาณความเข้มข้นของตัวmordant ระยะเวลานึ่ง
หลายคนคงสงสัยว่าแล้วใบไม้ชนิดไหนที่ให้สีบ้าง คงไม่บอกไม่ได้แน่ขัด แต่มีวิธีสังเกตง่ายๆคือ ต้นไม้ขนิดใดก็ตามที่ใบให้รสหวาน สีมักจะติดไม่ทน ต้นไม้ที่ให้รสขม ฝาด และต้นที่มียางมักจะติดได้ดีกว่า สุดท้ายคำตอบที่ดีที่สุดคือการทดลองด้วยตัวเอง
เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้
1.น้ำสนิม ใช้เหล็กที่เป็นสนิม เช่น ตะปู ใส่ลงในน้ำทิ้งไว้สัก 2-3 วันเป็นอย่างน้อย ยิ่งนานยิ่งเข้มข้น
2.น้ำส้มสายชู
3.ผ้าฝ้าย ที่ย้อมด้วยต้ลูกต้นก้างปลา
4.พลาสติก
5.เชือกสำหรับมัด
6.ใบไม้สำหรับการพิมพ์ ครั้งนี้ใช้ใบกระท้อนแก่ที่เปลี่ยนเป็นสีแดง ใบต้นตะขบ และใบไม้ที่มีลูกอยู่ใต้ใบเล็กๆ (ไม่รู้จริงๆว่าเจ้าต้นนี้ชื่ออะไร ขอเรียกว่าต้นไม้ข้างทางก็แล้วกัน)ใบขนุน
ต้นก้างปลา
ใบกระท้อนให้สีส้มถึงน้ำตาล
ใบขนุนให้สีเหลือง
ใบตะขบ
7.ถุงมือ
Step 1 เตรียมผ้า
นำผ้าที่จะย้อม(ย้ำต้องเป็นผ้าที่ทำจากในธรรมชาติ)ไปซักให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง แต่ครั้งนี้ผู้เขียนใช้ผ้าที่ผ่านการย้อมจากต้นลูกก้างปลา
Step 2
นำไปแช่ในในน้ำที่ผสมสารส้ม(อัตราส่วน1ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 2ลิตร บางคนใช้สารส้มน้ำหนักเท่ากับ 10-15% ของผ้า )นานอย่างน้อยครึ่ง ชั่วโมง
Step 3
นำไปไม้ไปใช่พิมพ์ชุบในน้ำที่ผสมน้ำส้มสายชูอัตราส่วน น้ำ 2 ส่วน น้ำส้มสายชู 1 ส่วน แล้วจึงนำไปแช่ในน้ำเหล็กประมาณ 10 นาที
Step 4
นำผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยลูกข้างทาง สีฟ้าอ่อน ชุบน้ำที่ผสมส้ำส้มสายฃูอัตราส่วนน้ำ 2 ส่วน น้ำส้มสายชู
Step 5
นำใบไม้ที่แช่น้ำเหล็กขึ้นมาสะบัดน้ำออกให้หมด แล้วนำไปวางบนผ้า จากนั้นนำพลาสติกมาคลุมทับเพื่อกันไม่ให้สีของใบไม้แผ่กระจายไปเปรอะผ้าส่วนไม่ต้องการ แล้วมันให้แน่น ให้ใบไม้แนบสนิทกับผ้ามากที่สุด
Step 6
นำไปนึ่ง ถ้านึ่งด้วยเตาแก๊ส ใช้ไฟระดับอ่อนสุด เป็นเวลา 1.5-2 ชั่วโมง ทิ้งไว้จนเย็นจึงค่อยแกะ และยิ่งทิ้งไว้นานเท่าไหร่ สีก็ยิ่งติดมากและทนยิ่งขึ้น ผู้เขียนทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน
9
ติดตามผลงานได้ที่เพจ Eco print Na Na style by wimolwal
You can follow up on the page : Eco print Na Na style by wimolwal
https://www.facebook.com/nanastylebymon