อาจารย์คณะสถาปัตย์จุฬา แจง สะพานลอยคืออุปสรรค์ของสังคมเพื่อผู้สูงวัย แจงเป็นความล้มเหลวของการพัฒนาเมือง เร่งผลักดัน หาวิธีแก้ โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ฯเตรียมจัดงาน ASA Real Estate Forum 2019 ครั้งที่2 ผ่านแนวคิดเมืองอัจฉริยะ เมืองนวัตกรรม เมืองเพื่อทุกคน เวทีที่วางรากฐานกลั่นความคิดถกปัญหาพัฒนาเมือง พร้อมดัน Prop Tech พัฒนาวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย หวังพาไทยสู่ผู้นำเมืองอัจฉริยะ เมืองนวัตกรรมแห่งภูมิภาคอาเซียน
นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าว่า การสร้างเมืองอัจฉริยะและเมืองแห่งนวัตกรรม ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายปัจจัย ทั้งการวางผังเมือง การออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่สามารถตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยในยุคปัจจุบันอย่างชาญฉลาด รวมถึงการหยิบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างความสะดวก สบาย และปลอดภัยให้กับประชาชน โดยเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรมจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านที่อยู่อาศัยที่สะดวกสบาย สร้างเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า รวมถึงมีสังคมและมีความสุขอย่างยั่งยืน
ขณะที่ภาครัฐมีแนวทางการสร้างเมืองอัจฉริยะ ผ่านโครงการเมืองอัจฉริยะอาเซียนทั้ง 10 ประเทศโดยไทยตั้งเป้า 10 เมืองใน 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยมุ่งเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนเพื่อพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ ทันสมัย ซึ่งคณะกรรมการขัยเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ ได้มีแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะระยะแรกใน 7 จังหวัดดังกล่าว และจะขยายสูง 100 เมือง 77 จังหวัดทั่วประเทศในปี 2565 เพื่อเป็นศูนย์กลางเมืองอัจฉริยะอาเซียน และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กันในภูมิภาค เพื่อผลักดันอาเซียนให้ทัดเทียมกับภูมิภาคอื่นของโลก
สำหับการจัดงาน ASA Real Estate Forum 2019 ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “Smart & Innovative Cities for all”ในวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ 3 สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดเมืองอัจฉริยะ และเมืองนวัตกรรม ทั้งการออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัยและประโยชน์การใช้สอยอย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริม Prop Tech หรือ Property Technology เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุนแต่เพิ่มประโยชน์ และสร้างโอกาสทางธุรกิจ อาทิ AI (Artificial Intellgence) 3D Printing และ VR(Virtual Reality) ช่วยในการออกแบบ สร้างความสเมือนจริงและลดความผิดพลาดในการออกแบบ และการนำบล็อกเชนมาใช้ในวงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้ระดมทุนในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงการลงทุนได้
ทั้งนี้การสร้างเมืองอัจฉริยะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน สมาคมฯจึงเป็นสื่อกลางเชิญทุกภาคส่วนร่วมถกปัญหาและสร้างแนวทางสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรม ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านงานสัมมนา อาทิ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ สมาคมการผังเมืองไทย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ อีกทั้งยังได้รับเกียรติจาก นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บรรยายในหัวข้อ Thailand : Country of Opporturities & Equaloity ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 รวมทั้งการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อาทิ ดร.ภาสกร ประถมบุตร ผู้อำนวยการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และนายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมผังเมืองไทย
นอกจากนี้ยังมีการจัด Dinner Talks พร้อมการเสวนา Smart & Innovative CITIES FOR ALL เมืองอัจฉริยะ เมืองนวัตกรรม เมืองเพื่อทุกคน โดยผู้ทรวงคุณวุฒิ อาทิ หัวข้อโครงการพัฒนาคลองเตย Port City จาก นายสมชาย เหมทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่ทำงานในวิชาชีพสถาปนิก และการมอบรางวัล ASA Real Estate Awards
ด้าน รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา อาจารย์ภาควิชาการวางแผน ภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเรื่อง Cities for all ว่า การวางผังเมืองยุคแรกนั้นถูกกำหนดด้วย 3 เรื่องที่เกี่ยวข้อง คือ สภาพภูมิศาสตร์ ที่ผูกพันกับพืชพันธ์และอาชีพ เช่น สภาพพื้นที่บนเขา ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็จะเลี้ยงชีพด้วยการปลูกพืชผลที่เหมาะกับสภาพภูเขา ในขณะที่พื้นที่ลุ่มประชาชนก็จะอาศัยการทำนา แต่ปัจจุบันถูกผสมผสานกันไปหมดแล้ว และคนแก่กับคนพิการกลายเป็นกลุ่มคนสำคัญที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ลิฟท์ถูกนำมาติดตั้งในบ้านที่มีราคาแพง คนพิการ คนชรา มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องของการเดินทาง เราเห็นคนแก่ลากกระเป๋าข้ามถนนใต้สะพานลอย สะพานลอยคือความล้มเหลวของการพัฒนาเมือง ประเทศไทยย้อมแพ้ต่อหาบเร่แผงลอย โดยปล่อยให้พวกหาบเร่แผงลอยขายของอยู่บนถนน แล้วไปสร้างสกาย วอล์คให้คนเดินอยู่ด้านบน และถ้าต่อไปเกิดพวกหาบเร่แผงลอยบุกขึ้นไปขายบนสกาย วอล์คแล้วะจะทำอย่างไร
ในต่างประเทศ มีการฟ้องร้องให้รื้อสกายวอล์คที่เชื่อมต่อไปยังอาคาร โดยอ้างเหตุผลการนำเงินภาษีอากรไปเอื้อกับเจ้าของอาคารเฉพาะราย
ในเยอรมัน ถ้ามีคนขับรถชนคนบาดเจ็บพิการ คนขับจะไม่ได้สิทธิ์ในการขับรถอีกตลอดชีวิต และจะต้องเลี้ยงดูคนที่เขาชนบาดเจ็บไปตลอดชีวิต คนขับรถจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก หรืออย่าง ในแคนาดา มีโครงการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยการนำวิธีการออกแบบแบบมาใช้
ปัจจุบันคนในเมืองมีการเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน และเลี้ยงเหมือนกับการเลี้ยงลูก แต่สวนสาธารณะยังมีการห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้า ในขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นมีการจัดแบ่งพื้นที่ในส่วนสาธารณะให้มีส่วนสำหรับให้สัตว์เลี้ยงวิ่งเล่น มีก๊อกน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยง รวมถึงมีการจัดพื้นที่ไว้ให้ซ้อมดนตรี เพราะปัจจุบันคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กๆอย่างคอนโดมิเนียม ไม่สามารถที่จะเล่นดนตรี ส่งเสียงดังภายในห้องพักได้ นี่คือมาตรฐานการออกแบบของโลก เพราะมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีข้อจำกัดอย่างไร จะต้องสามารถเข้าถึงทุกที่ได้เหมือนกันหมด การเคลื่อนที่ของมนุษย์ต้องมีการออกแบบให้เหมาะสม
ต้นไม้ สัตว์ป่า ล้วนมีมูลค่า ที่จำเป็นต่อสภาพแวดล้อมและชุมชนเมือง เราต้องไม่ตีกรอบเฉพาะคนแก่และคนพิการ มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกัน ความคิดที่ว่าทุกคนต้องทำได้ ซึ่งเป็นความคิดของคนร่นพ่อใช้ไม่ได้กับยุคปัจจุบัน แต่เราจะทำอย่างไรให้เขามีประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้นภายในข้อจำกัดของเขา สมาคมสถาปนิกในฐานะของนักออกแบบ กำลังดำเนินการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการออกแบบต่างๆ เพื่อขจัดปัญหาที่เป็นอยู่